วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครูดนตรีที่ดี


ในความคิดของผม ผมคิดว่าครูดนตรีที่ดีนั้นต้องรู้จักสอนนักเรียนให้เรียนรู้ไปเรื่อยๆตามความสามารถของนักเรียนเพราะในการเรียนรู้ดนตรีนั้นความสามารถของนักเรียนไม่เท่ากัน ครูที่ดีผมจึงคิดว่าแค่สอนนักเรียนให้เล่นด


อาจารย์มนตรี  ตราโมท  เดิมชื่อ  บุญธรรม  ตราโมท  เกิดวันที่  17  มิถุนายน  พ.ศ.  2443  ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง   อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นบุตรนายยิ้ม  และนางทองอยู่  เมื่อ  พ.ศ.  2475  สมรสกับนางสาวลิ้นจี่  (บุรานนท์)  มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่  2  คน  คือ  นายฤทธี  และนายศิลปี  ต่อมาเมื่อนางลิ้นจี่ ถึงแก่กรรมจึงแต่งงานกับนางสาวพูนทรัพย์  (นาฏประเสริฐ)  มีบุตร  2  คน  คือ  นางสาวดนตรี  และนายญาณี 
                ความสามารถและผลงาน
                อาจารย์มนตรี  ตราโมท  เริ่มการศึกษา   โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี  (ปรีชาพิทยากร)  สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ภายหลังไปเรียนต่อที่โรงเรียนพรานหลวง  ในพระบรมราชูปถัมภ์  จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6
                อาจารย์มนตรี  สนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็ก  เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ  ซึ่งที่วัดนี้มีวงปี่พาทย์และมีการฝึกซ้อมอยู่เสมอ  จึงได้ยินเสียงเพลงจากวงปี่พาทย์อยู่เป็นประจำ   จนในที่สุดได้รู้จักกับนักดนตรีในวงและขอเข้าไปเล่นด้วย  เมื่อมีการบรรเลงก็มักจะไปช่วยตีฆ้องเล็กหรือทุ้มเหล็กด้วยเสมอ 
                เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่  3  อาจารย์มนตรีตั้งใจจะมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ  แต่บังเอญเจ็บกระเสาะกระแสะเรื่อยมา  จึงไม่ได้เรียนต่อ  ครูสมบุญ  นักฆ้องซึ่งเป็นครูปี่พาทย์ประจำวงที่วัดสุวรรณภูมิ ชวนให้มาหัดปี่พาทย์  จึงได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมาประมาณ  2  ปี  และได้เป็นนักดนตรีประจำวงปี่พาทย์  จังหวัดสุพรรณบุรี 
                ต่อมา  ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านปี่พาทย์ที่จังหวัดสมุทรสาคร  ราว  พ.ศ.  2456  ที่บ้านครูสมบุญ  สมสุวรรณ  ที่บ้านนี้มีวงปี่พาทย์และแตรวง  อาจารย์มนตรีจึงได้ฝึกทั้ง  2  อย่างคือ ด้านปี่พาทย์ ฝึกระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่  ด้านแตรวง  ฝึกเป่าคลาริเน็ต  นอกจากนี้ครูสมบุญยังได้แนะวิธีแต่งเพลงให้ด้วย
                ในปี   พ.ศ.  2460 อาจารย์มนตรี  ได้เข้ามาสมัครรับราชการในกรมพิณพาทย์หลวง  ซึ่งมีพระยาประสานดุริยศัพท์  (แปลก  ประสานศัพท์)  เป็นเจ้ากรม  ขณะที่ทำงานอยู่ก็ได้เรียนโรงเรียนพรานหลวงด้วยจนจบมัธยมศึกษาปีที่  6 
                อาจารย์มนตรี  ได้รับเลือกเป็นนักดนตรีประจำวงข้าหลวงเดิม  เป็นวงที่จะต้องตามเสด็จทุกๆแห่ง  โดยพระยาประสานดุริยศัพท์จะเป็นผู้ควบคุมทุกครั้ง  อาจารย์มนตรี  เริ่มแต่งเพลงเมื่ออายุ  20  ปี เพลงแรกที่แต่ง  คือ  เพลงต้อยติ่ง  3  ชั้น เมื่อ  พ.ศ.  2467  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวน  แพทย์ถวายการแนะนำให้ทรงฟังนิทานหรือดนตรีเบา  ประกอบกับเสวยพระโอสถ  กรมมหรสพจึงจัดวงเครื่องสายเบาๆ บรรเลงถวาย  วงเครื่องสายนี้ได้เพิ่มขิมขึ้น  อาจารย์มนตรีได้รับหน้าที่เป็นผู้ตีขิม ในวังหลวงเป็นคนแรก  บรรเลงถวายทุกวันจนพระอาการหายเป็นปกติ
http://cdans.bpi.ac.th/thaimusic/image/thumbnails/2.jpg
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)
หลวง ประดิษฐ์ไพเราะ นามเดิม (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรีว่า "ครูจางวางศร" เป็นบุตรคนสุดท้องของ ครูสิน ศิลปบรรเลง ครูปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงของ สมุทรสงคราม เป็นศิษย์เอกหนึ่งในสองคนของพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) เมื่อยังอยู่ในวัยเยาว์มีชื่อเสียงในการตีระนาดเอกได้เคยแสดงฝีมือในงานของ เจ้านายหลายครั้งและเคยได้รับรางวัลจากสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ จางวางศร (รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในรัชกาลที่ ๖ )ได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระกรุณาด้วยความจงรักภักดีอย่างสุดความสามารถ ได้ปรับปรุงเพลงไทยเดิมต่างๆ เช่นเพลง ๒ ชั้น ปรับปรุงเป็นเพลงเถาหลายสิบเพลง จางวางศร มีความเห็นว่าเพลงไทยจะมีวิวัฒนาการได้นั้น ต้องมีการประดิษฐ์เพลงให้มีเพิ่มขึ้นโดยรักษาหลักเดิม และใช้ศิลปะในการประดิษฐ์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ตลอดชีวิตของท่านจึงมีการประดิษฐ์เพลงใหม่ขึ้นอีกหลากหลาย
http://cdans.bpi.ac.th/thaimusic/image/thumbnails/3.jpg
พระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี)กับนางนิ่ม เกิดเมื่อ
วันที่ กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดากรุงเทพมหานคร
       ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดา) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ นายแปลกเป็นที่ขุนประสานดุริยศัพท์"นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อน บรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ พระยาประสานดุริยศัพท์” เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6  ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยป ีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่าน เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่ง
ถึง กับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงลุกจากที่ประทับ
และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา
พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ เป็นต้น
ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือพระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น
พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 105 ปี ในปี พ.ศ. 2467
    นตรีได้แค่นี้ก็พอ  จะเก่งหรึอไม่เก่งก็อยู่ที่นักเรียนครับผม